วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

สมรรถนะเฉพาะและตัวบ่งชี้ของครูการศึกษาพิเศษ

ร่างสมรรถนะเฉพาะและตัวบ่งชี้ของครูการศึกษาพิเศษ
สมรรถนะที่ 1 การจัดการเรียนรู้
       
การจัดการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนพิเศษมีศักยภาพสูงสุด ตามนโยบาย เป้าหมายการจัดการศึกษาพิเศษ โดยใช้ความรู้ด้านจิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษาพิเศษ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการและการศึกษาพิเศษ มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะครอบครัว (Individualized Family Service Plan : IFSP) และหรือแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program :IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan :IIP) รวมทั้งใช้ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลือ
อื่นใดทางการศึกษา เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคลตัวบ่งชี้
    
1. มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย นโยบาย และเป้าหมายการจัดการศึกษาพิเศษ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ
    
2. มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ
    
3. สามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
     
4. สามารถจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะครอบครัว (IFSP) และหรือแผนการ
จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP)
   
5. สามารถจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแผนการ
จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ของผู้เรียนแต่ละประเภทความพิการ
  
6. มีความรู้และสามารถใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษแต่ละประเภทความพิการสมรรถนะที่ 2 จิตสำนึกความเป็นครูการศึกษาพิเศษ
    
จิตสำนึกความเป็นครูการศึกษาพิเศษ หมายถึง เป็นผู้ที่มีความรัก ความศรัทธา และความภาคภูมิใจในความเป็นครูการศึกษาพิเศษ มุ่งมั่น อดทน และรับผิดชอบ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ ก้าวทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อช่วยเหลือพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ มีสุขภาพจิตที่ดี มีเจตคติที่ดีต่อบุคคลพิการและครอบครัว ตัวบ่งชี้
    
1. รัก ศรัทธา และภาคภูมิใจในความเป็นครูการศึกษาพิเศษ
    
2. ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ ก้าวทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
    
3. มีสุขภาพจิตที่ดี
    
4. มีเจตคติที่ดี ไม่รังเกียจและไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลพิการและครอบครัว
     5. มุ่งมั่น อดทนต่อพฤติกรรมและแก้ปัญหาเฉพาะรวมทั้งปกป้องภยันตรายที่จะเกิดแก่เด็กพิเศษแต่ละประเภทความพิการ
    
6. รับผิดชอบต่อผลการพัฒนาผู้เรียนตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
    
7. ประสานงานความร่วมมือกับ ผู้ปกครอง บุคคล องค์กรที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาพิเศษ


http://www.gotoknow.org/posts/77760


แบบฝึกหัด เรื่องสระ ระดับอนุบาล

สวัสดีค่ะ มีแบบฝึกหัดที่จัดทำขึ้นมาฝาก ต้องติดตามดูนะค่ะ เพราะจะ update ให้เรื่อยๆ นะค่ะ หวังว่ามีประโยชน์กันนะค่ะ ถ้าใครนำไปใช้แล้วยังไงก็มาแสดงความคิดเห็นกันในblogบ้างนะค่ะ ตอนนี้สามารถ แสดงความคิดเห็นได้แล้วค่ะ

http://www.ziddu.com/download/21870442/_.docx.html

แบบฝึกหัดสระอา ระดับอนุบาล

http://www.ziddu.com/download/21886859/_.docx.html

แบบฝึกหัดสระอู ระดับอนุบาล

เรียนรู้พยัญชนะไทย


สวัสดีค่ะ ทุกคน ครูจั๊สนำ เรื่อง การสอนพยัญชนะไทย ให้เด็กๆ พิเศษของเราสามารถ อ่าน เขียน และ ไม่สับสน พยัญชนะไทยที่คล้ายคลึงกันได้ถูกต้อง 

ขั้นตอนการสอน
๑.ผู้ปกครอง แยกพยัญชนะไทยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จัดเป็นกลุ่ม เช่น ก  ถ  ภ,ข ฃ  ช  ซ,ค  ต  ด  ศ เป็นต้น

๒.เริ่มสอนทีละกลุ่ม ครั้งแรก อาจจะเริ่ม  ๑-๒ กลุ่ม สอนกลุ่มที่ หนึ่งแล้วจึงเปลี่ยนเป็นกลุ่มที่สอง  เพื่อให้เด็กจำได้ง่ายและไม่สับสน 

๓.หยิบ บัตรพยัญชนะ ให้เด็กดู ให้เด็กชี้ที่พยัญชนะ ผู้ปกครอง พูดว่า ก ไก่ ให้เด็กพูดตาม  พูดซ้ำ ๒ ถึง ๓ ครั้ง และเปลี่ยน บัตร พยัญชนะ ทำเช่นนี้จนครบทุกตัวอักษรในกลุ่ม 

๔.หยิบบัตรภาพ ทีละภาพ ทำเช่นเดียวกับ ข้อ ๓ และให้ เด็กจับคู่ภาพกับพยัญชนะ 

๕.นำเฉพาะบัตรพยัญชนะ (๒ตัวเลือก) เช่น ก  กับ  ถ  ให้เด็กชี้บัตร ตามคำบอกของผู้ปกครอง อาจจะสลับบัตรคำไม่ให้อยู่ในตำแหน่งเดิม เช่นนี้จบครบ ทุกบัตร และเพิ่มเป็น ๓ ตัวเลือก เด็กควรจะชี้หรือหยิบได้ถูกต้อง ๒ใน๓ ครั้ง หรือ ถูกต้องทุกครั้ง จึงจะผ่าน

๖.ให้เด็กดูบัตรคำทีละ ๑ ใบ เด็กบอกชื่อพยัญชนะ เด็กควรตอบได้ถูกต้อง เช่น ข้อ ๕

๗.ผู้ปกครองสาธิตการเขียนพยัญชนะ โดยใช้นิ้วชี้ในการเขียน จับมือเด็กเขียนเช่นเดียวโดยอธิบายถึงจุดเริ่มต้นและการเขียนม้วนหัว เข้า และ ออก ของพยัญชนะนั้น และให้เด็กเขียนด้วยตนเอง สังเกตว่าเด็กเขียนถูกต้องหรือไม่ ถ้าผิด บอกเด็กทันนี

๘.ถามเด็กจุดพยัญชนะ เหมือนหรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ตรงจุดไหน แต่ถ้าเด็กตอบเหมือนกัน ผู้ปกครอง ชี้จุดที่ต่างกันและถามเด็กอีกครั้ง ต่างหรือเหมือนกัน ถ้าเด็กไม่สามารถตอบได้หรือพูดได้ ให้ใช้การชี้แทน
ทำเช่นนี้จนครบบัตรพยัญชนะในกลุ่ม

๙.อาจจะเป็นการเล่นเกมส์ เช่น คนหาคู่ ,ดูสิตรงไหนเหมือน ตรงไหนต่าง 

๑๐.ทำแบบฝึกหัด 

ในทุกๆ ขั้นตอน ควรย้ำๆ ซ้ำๆ และอย่าลืมแรงเสริม คำชม ปรมมือ ให้คะแนน หรือสิ่งที่เด็กชอบ 

ขอให้มีความสุขกับการสอนลูกๆพิเศษของท่าน และ เด็กๆมีความสุขกับการเรียนนะค่ะ 

                                                                                                              ครูจั๊ส

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

App สอนเด็กๆฝึกเขียนพยัญชนะไทย

สวัสดีค่ะ วันนี้ครูจั๊ส นำapp ที่ช่วยให้ผู้ปกครองนำไปสอนเด็กๆให้รู้จักการเขียนพยัญชนะไทยให้ถูกต้อง รู้ตำแหน่งการเริ่มต้นเขียนการเขียนม้วนหัวเข้าออก ของพยัญชนะไทย ซึ่งเป็นความยากสำหรับน้องๆพิเศษเป็นอย่างมาก app นี้เด็กจะต้องใช้นิ้วชี้ในการเขียนทำให้เด็กได้สัมผัสทางตรงจึงทำให้เข้าใจในการเขียนพยัญชนะไทยได้ง่ายขึ้น. รวมถึงได้ฝึกการสังเกตสมาธิ ความสัมพันธ์มือกับตาอีกด้วย ชื่อapp " Keng Thai " downloaได้รับ มือถือ หรือtab android ค่ะ ตระกูล apple ยังไม่ได้ค่ะ ขอให้เด็กๆสนุกกับการเขียนพยัญชนะไทยนะค่ะ

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

ขออภัย

ดีค่ะผู้เข้าชม blog ทุกคนถ้าท่านใช้iPad เข้าชมและไม่พบวีดีโอ อาจจะต้องเปลี่ยนมาดูจากPC นะค่ะ ได้ชมกันแน่นอนค่ะ iPad ของครูจั๊สก็ไม่พบเช่นกัน อาจจะต้องลงบางโปรแกรม แล้วจะมาแจ้งครั้งต่อไปนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ฝึกกระโดดสองขาคู่พร้อมกันข้ามสิ่งกีดขวาง


แนะนะครูฝึกกันนิดนะค่ะ ครูก้อยค่ะ จบวิทยาศาสตร์การกีฬา สอนพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและสอนว่ายน้ำเด็กพิเศษค่ะ

 
หลังจากฝึกให้เด็กพิเศษ สามารถกระโดดได้แล้ว เราจะมาสอนให้เด็กกระโดดสองขาคู่ ไปข้างหน้าต่อเนื่องก่อนและเพิ่มความยากขึ้นโดยให้กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง สำหรับน้องพู (ภาวะออทิสติก) ได้รับการฝึกต่อเนื่องเป็นเวลา สาม สัปดาห์ โดยมาฝึกกับคุณครูก้อย สัปดาห์ละ หนึ่งครั้ง (เพราะน้องพูอยู่ไกล) และทางครอบครัวได้ฝึกต่อเนื่องจากครู จึงทำให้น้องพูสามารถกระโดดได้คล่องตามที่เห็น ครูก้อยก็เพิ่มความยากโดยการให้ถือลูกบอลอยู่เหนือศีรษะ และกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง จุดนี้จะเสริมการทรงตัว ให้ดียิ่งขึ้น

ติดตามการฝึกต่อไปนะค่ะ

                                                                                                                 ครูจั้ส

เรียนรู้ สิ่งของที่ใช้คู่กัน


สอนให้เด็กๆ รู้จักสิ่งของที่ใช้คู่กัน 

ขั้นตอนการสอน

1.สอนจากของจริง เช่น ช้อนคู่กับส้อม, ถุงเท้าคู่กับรองเท้า,แปรงสีฟันคู่กับยาสีฟัน,กรรไกรคู่กับกระดาษ,กระทะคู่กับตะหลิว เป็นต้น นำสิ่งของที่ใช้คู่กัน อาจจะสอนครั้งละ 3-5 อย่าง เริ่มจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคย และ ใช้บ่อยๆ

2.เริ่มจากนำสิ่งของคู่แรก เช่นช้อมกับส้อม นำให้ เด็กดู ถามชื่อสิ่งของ นั้นๆ จากนั้น ผู้ใหญ่ จับช้อมมาวางคู่กับส้อม และพูดว่า ช้อมคู่กับส้อม หลังจากนั้น ให้เด็ก ปฎิบัติตาม โดยให้เด็กพูดตาม ช้อนคู่กับส้อม ทำเช่นนี้ จนครบ สิ่งของที่กำหนด โดยไม่มีตัวเลือก

3.ให้เด็กจับคู่สิ่ง ของ โดยมีตัวเลือกเริ่มจาก 2ตัวเลือก ผู้ใหญ่ ถามว่า ช้อนคู่กับอะไร ให้เด็กนำไปวางคู่กับสิ่งของที่คู่กัน

4.นำสิ่งของทั้งหมด วางไว้บนโต๊ะ คละกัน แล้วให้เด็กหยิบสิ่งของที่คู่กัน และให้เด็กพูดชื่อสิ่งของนั้นๆ เสมอ

5.เมื่อเด็กเกิดความคุ้นเคยกับสิ่งของจริง เราเปลี่ยนเป็นบัตรภาพ ทำเช่นเดียวกับการสอนจากการใช้สิ่งของจริง  สุดท้าย อาจจะเพิ่มเติมเป็นแบบฝึกหัดได้ค่ะ

เราสามารถสอนผ่านชีวิตประจำวันได้เช่นกัน  เช่น  เมื่อเราจะรับประทานอาหาร แม่อาจจะหยิบเพียงแค่ ช้อนมา แล้ว บอกให้ลูกไปหยิบสิ่งที่คู่กับช้อนมาสิค่ะ เป็นต้น

ครูจั๊สหวังว่าจะมีประโยชน์กับผู้ปกครองทุกท่านนะค่ะ

                                                                                                                          ครูจั๊ส

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

สอนเด็กให้รู้ค่า มาก กับ น้อย

ดีค่ะ วันนี้จะนำวิธีการสอนเด็กทั่วไปและเด็กพิเศษ มาเรียนรู้เรื่อง จำนวนค่า มาก กับ น้อยกันนะค่ะ

ก่อนอื่น เด็กจะต้องรู้จักตัวเลข และ ค่า ของจำนวนก่อนจะเริ่มสอนการเปรียบเทียบจำนวน

1.สอนจากของจริง ค่าจำนวนเปรียบเทียบให้เป็นได้ชัดเจน ระหว่างมากกับน้อย   เช่น  ลูกปัด 1 เม็ด สีแดง กับ ลูกปัด 5 เม็ด สีเหลือง แยกสีให้เด็กเห็นได้ชัดเจน

2.ให้เด็กนับจำนวนและหยิบบัตรตัวเลขแทนค่าจำนวนนั้นๆ

3.ชี้ไปยังจำนวนที่น้อยกว่า พูดว่า 1 น้อย   ชี้ไปยังจำนวนมาก พูดว่า 5 มาก และให้เด็กพูดตาม โดยเด็กจะสังเกตจากจำนวนลูกปัด เปลียนจำนวน และฝึกเด็กทำเช่นนี้ซ้ำๆ หรือ อาจจะสอนที่ละค่า คือ สอน น้อย ซ้ำ 4-5 รอบและเปรียนมาเป็นมาก

4.เปลี่ยนกิจกรรม อาจจะเป็นเกมส์จากคอมพิวเตอร์ หรือ เกมส์ที่ผู้สอนคิดขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับการเปรียบเทียบ เพื่อให้เด็กได้มีความสนุกสนามในการเรียนพร้อมกับการเรียนรู้

5.ทำแบบฝึกหัด

เราสามารถสอนเด็กให้เปรียบเทียบจำนวนได้ผ่านชีวิติประจำวัน เช่น ลูกมีดินสอนกี่แท่งในกล่องดินสอ ค่ะ และ ยางลบหละเท่าไหร่ อะไรมากกว่า นะ บอกแม่หน่อย เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ไปโดยไม่รู้ตัวว่า แม่กำลังสอนเราอยู่ นะค่ะ

หวังว่า การสอนนี้จะเป็นประโยคแก่ผู้ปกครองนะค่ะ

                                                                                                                      ครูจั๊ส